วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

นิยามของความรัก

มีผู้ให้คำนิยามของความรักไว้หลายอย่าง แต่อาจสรุปอย่างกว้างๆ ได้ว่า ความรักเป็นความรู้สึกพิเศษที่บุคคลมีต่ออีกคนหนึ่ง
Lasswell กล่าวว่า ความรักมีหลายแบบ ในช่วงเวลาที่ต่างกัน ในช่วงต้นของการจีบกัน ชายหญิงจะมีความรักแบบ โรแมนติก (Romantic Love), เมื่อเวลาผ่านไป ความรักที่มี เหตุผล (Logical - Sensible Love) ก็จะเกิดขึ้น, และเมื่อใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันนานวันเข้า ความรัก ฉันท์เพื่อน ( Lifelong Friendship) ก็จะเกิดขึ้นแทนที่
ในช่วงเริ่มจีบกันใหม่ ๆ ชายหญิงจะอยู่ในภาวะที่เรียกว่า "Idealization" คือ มองอีกฝ่ายหนึ่งเป็นอุดมคติ เห็นแต่คุณสมบัติอัน เลิศเลอ เพอร์เฟค ของคนรักตัวเองโดยไม่เห็นข้อบกพร่องใด ๆ (ไม่มีใครหล่อ รวย เก่ง ดี เท่าคนที่เรารักอีกแล้ว) บางครั้งจะมองเฉพาะสิ่งที่เขาอยากเห็น ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงของเธอ, ต่างฝ่ายพยายามสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นมาเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งพอใจ
แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความตื่นเต้นจะลดลงและความจริงก็จะชัดเจนขึ้น จนอาจทำให้ยอมรับข้อบกพร่องของกันได้ยาก แต่หากความรักได้เติบโตและมีวุฒิภาวะที่มากขึ้น คู่รักก็จะยอมรับข้อบกพร่องของกันได้ เพราะรู้ว่าในโลกนี้ไม่มีใครที่สมบูรณ์แบบ
ในหลายคู่ ความรักแบบโรแมนติกไม่ได้พัฒนาไปเป็นความรักที่ maturity จึงเกิดปัญหาตามมาหลายอย่าง เช่น เกิดความผิดหวังเสียใจที่เขาหัวล้าน พุงพลุ้ย รสนิยมไม่ดี ไม่หล่อ ไม่เท่ อย่างที่คิด จนต้องเลิกรากันไปในที่สุด

ต้นกำเนิดของความรัก


เป็นที่สงสัยกันมาช้านานว่า ความรักนั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร
ชาวกรีกและโรมัน ในสมัยโบราณ ยกย่องให้ Aphrodite หรือวีนัส ในฐานะของเทพีแห่งความงาม และเป็นผู้ให้กำเนิดความรัก โดยมี อีรอส หรือคิวปิด บุตรชายเป็นผู้แผลงศรรักแก่มนุษย์ สัตว์ เทพ แล้วทำให้บุคคลเหล่านั้นรักกัน
ชาวอารยัน ในลุ่มแม่น้ำสินธุ ก็มีความเชื่อคล้าย ๆ กันที่ว่า พระลักษมี เป็นเทพีแห่งความงามและความรัก โดยมี กามเทพ พระโอรสเป็นผู้มอบความรักเหล่านั้นแด่มวลมนุษย์
ความเชื่อที่คล้ายกันอย่างหนึ่งก็คือ ความรักมักมาคู่กับความงาม ดังนั้น ความรักก็น่าจะเป็นสิ่งที่สวยงาม
ไม่มีใครทราบอยู่ดีว่าความรักนั้น แท้จริงแล้วมีที่มาอย่างไร แต่ที่แน่ ๆ มันได้สร้างปัญหาให้กับโลกใบนี้มานานกว่าหมื่นปี

วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การดำรงชีวิตอย่างมีความสุข


การดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

คนที่มีความสุข คือคนที่มีความสมหวัง เป็นคนที่สามารถประกอบกิจการงานประสบความสำเร็จตามความปรารถนา มีร่างกายแข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ไม่มีอารมณ์ขุ่นมัวหรือวิตกกังวล มีอารมณ์มั่นคง มีความอดทนและมีความสามารถต่อสู้อุปสรรคต่าง ๆ ได้ เป็นคนที่ยอมรับความจริงในชีวิต ทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม กล่าวโดยสรุป คนที่มีความสุขก็คือ คนที่มีสุขภาพดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เป็นคนที่สามารถปรับตัวได้อย่างดีในการดำรงชีวิตประจำวันความสุขเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ เป็นการมองชีวิต มองตัวเอง และมองผู้อื่น ดังนั้นความสุขจึงเกิดขึ้นได้กับคนทุกชั้นไม่ว่า ผู้ดี มั่งมี หรือยากจน แนวความคิดทางด้านจิตวิทยาเกี่ยวกับการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประวัติความเป็นมาของจิตวิทยา

จิตวิทยาได้เริ่มขึ้นโดยนักปราชญ์ชาวกรีก ชื่อ เพลโต และอริสโตเติล เพลโตเชื่อว่าการคิดและการใช้เหตุผลเท่านั้น ที่ทำให้คนเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เขาสามารถจะเข้าใจได้ โดยไม่สนใจวิธีการสังเกตหรือการทดลองใด ๆ แต่อริสโตเติลกลับเป็นนักสังเกตสิ่งรอบตัว เขาสนใจสิ่งภายนอกที่มองเห็นได้ การเข้าใจปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับคนต้องเริ่มด้วยการสังเกตอย่างมีระบบ

ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ศาสนาเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยแนวคิดทางศาสนาเน้นว่าจิตเป็นส่วนที่แยกออกจากร่างกาย

ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 การฟื้นฟูการสืบสวนโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการละทิ้งความเชื่อแบบเดิม ๆ มีการค้นหาความรู้ใหม่ ๆ วิธีการก็เริ่มมีลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอน กล่าวว่า “ทฤษฎีให้แนวทาง การวิจัยให้คำตอบ” โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญระหว่างทฤษฎีและการวิจัย

กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีกลุ่มแนวคิดที่สำคัญเกิดขึ้น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มประจักษ์นิยมชาวบริเตน (British Empiricism) ที่เชื่อว่า ความรู้ผ่านเข้ามาทางสื่อกลางของความรู้สึก จิตเป็นที่รวมของความคิดเห็น นักจิตวิทยากลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดจิตวิทยากลุ่มสัมพันธนิยม (Associationistic Psychology) นักจิตวิทยาอีกกลุ่มหนึ่งกลับสนใจทางชีวภาพ เช่น ความแตกต่างระหว่างประสาทส่วนรับความรู้สึกกับประสาทส่วนการเคลื่อนไหว และ ลักษณะทางกายที่แสดงปฏิกิริยาสะท้อน (reflex) นักจิตวิทยากลุ่มนี้พยายามอธิบายการกระทำของมนุษย์ด้วยหลักการทางฟิสิกส์ คือ จิตฟิสิกส์ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพของสิ่งเร้ากับประสบการณ์รู้สึกที่ผู้ที่ถูกเร้ารายงานออกมา

ประวัตินักจิตวิทยา



เคน วิลเบอร์

เคน วิลเบอร์
(อังกฤษ: Ken Wilber ชื่อเต็ม Kenneth Earl Wilber Jr.) เกิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) ที่เมืองโอคลาโฮมาซิตี สหรัฐอเมริกาเป็น
นักปรัชญา นักจิตวิทยา และนักทฤษฎีคนสำคัญของโลก เขาพัฒนาทฤษฎีที่มีชื่อว่า ทฤษฎีบูรณาการ โดยวางอยู่บนกระบวนทัศน์แม่บท (meta-paradigm) คือ "ทุกคนถูกต้อง" เขาเขียนหนังสือเล่มแรกตั้งแต่อายุ 23 ปี ชื่อ The Spectrum of Consciousness หนังสือเล่มสำคัญเล่มอื่น ๆ ของเขาได้แก่ Sex, Ecology, Spirituality และ A Brief History of Everything

จอห์น ดูอี

จอห์น ดูอี (อังกฤษ: John Dewey) (20 ตุลาคม ค.ศ. 18591 มิถุนายน ค.ศ. 1952) เป็นนักปรัชญา นักจิตวิทยา และนักปฏิรูปการศึกษาชาวอเมริกัน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยเวอร์มอนต์ ในปี ค.ศ. 1879 หลังจากนั้นใช้เวลาว่างช่วงสั้นๆ เป็นอาจารย์สอนพิเศษที่โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง ก่อนจะกลับมาศึกษาต่อจนจบปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ในปี ค.ศ. 1884

ดูอีเคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิชาปรัชญา จิตวิทยา และการสอน ของมหาวิทยาลัยชิคาโก เขามีบทบาทสำคัญในการบุกเบิกแนวคิดและวิธีการสอนแบบใหม่ๆ ทั้งยังได้สร้างโรงเรียนสาธิตขึ้นเพื่อใช้สำหรับทดสอบพัฒนาและวิเคราะห์ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนการสอนและที่สำคัญ ยังถือได้ว่าเขาเป็นนักปรัชญาทางการศึกษาแนวหน้าของโลก โดยมีปรัชญามากมายซึ่งเกี่ยวข้องกับการศึกษาที่แตกแขนงออกไปอย่างมากมาย

ซิกมันด์ ฟรอยด์

ซิกมันด์ ฟรอยด์ (อังกฤษ: Sigmund Freud, IPA: [ˈziːkmʊnt ˈfrɔʏ̯t], 6 พ.ค. 239923 ก.ย. 2482) เป็นนักจิตวิทยาชาวออสเตรีย เป็นผู้ที่สร้างทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีทางด้านการพัฒนา Psychosexual โดยเชื่อว่าเพศหรือกามารมณ์ เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาของมนุษย์ แนวคิดดังกล่าวเกิดจากการสนใจศึกษา และสังเกตผู้ป่วยโรคประสาทด้วยการให้ผู้ป่วยนอนบนเก้าอี้นอนในอิริยาบทที่สบายที่สุด จากนั้นให้ผู้ป่วยเล่าเรื่องราวของตนเองไปเรื่อย ผู้รักษาจะนั่งอยู่ด้านศีรษะของผู้ป่วย คอยกระตุ้นให้ ผู้ป่วยได้พูดเล่าต่อไปเท่าที่จำได้ และคอยบันทึกสิ่งที่ผู้ป่วยเล่าอย่างละเอียด โดยไม่มีการขัดจังหวะ แสดงความคิดเห็น หรือตำหนิผู้ป่วย ซึ่งพบว่าการกระทำดังกล่าวเป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้รักษาได้ข้อมูลที่อยู่ในจิตใต้สำนึกของผู้ป่วย และจากการรักษาด้วยวิธีนี้เองจึงทำให้ฟรอยด์เป็นคนแรกที่สร้างทฤษฎีจิตวิเคราะห์


วัลลภ ปิยะมโนธรรม

ดร. วัลลภ ปิยะมโนธรรม นักจิตวิทยาและที่ปรึกษาโครงการศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มักได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ของความไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดและวิธีการบำบัดปัญหาทางจิตกรณีต่าง ๆ โดยเฉพาะ กลุ่มคนรักร่วมเพศ ที่ ดร.วัลลภ มีความเห็นว่า พฤติกรรมรักร่วมเพศนั้นมีสาเหตุมาจากการเลี้ยงดู ไม่ใช่พันธุกรรม และสามารถรักษาให้หายขาดได้

จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จบการศึกษาระดับปริญญาตรีทางจิตวิทยา จากมหาวิทยาลัยซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา จบการศึกษาระดับปริญญาโทจิตวิทยาการศึกษา จากมหาวิทยาลัยบอสตัน สหรัฐอเมริกา และจบการศึกษาระดับปริญญาเอกจิตวิทยาคลินิก จาก มหาวิทยาลัยบอสตัน สหรัฐอเมริกาและปริญญาเอกจิตวิทยาการให้คำปรึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ดร. วัลลภ เป็นที่รู้จักกันดีจากบทบาทที่เป็นนักจิตวิทยา ที่ให้ความเห็นต่อสังคมในประเด็นต่าง ๆ ในแง่ของจิตวิทยา เป็นวิทยากรให้ความรู้และที่ปรึกษาเกี่ยวกับจิตวิทยาในสื่อและในโอกาสต่าง ๆ อดีตอาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ และหัวหน้าศูนย์ให้คำปรึกษาสุขภาพจิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จนเกษียณอายุราชการ